การนำเสนอพันธ์ุไม้จากสวนพฤกษาศาสตร์ โรงเรียนพหฤทัยดอนเมือง

รหัส : 7-10210-010-044
7 รหัสกิจกรรมสร้างจิตสำนึก
10210 รหัสประจำท้องถิ่น
010 รหัสสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์
044 เลขประจำตัวพืช

คลิกเพื่อดูที่อยู่รูปภาพ

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus Kurz

ชื่อท้องถิ่น : หญ้าไก่ (ไทย) ,แปะเฮาะเล่งจือ (จีน-จีนแต้จิ๋ว), ทองคันชั่ง (ภาคกลาง) , ผกาฮ้อมบก (สุรินทร์)

ชือ่สามัญ : White crane flower

วงศ์ : Acanthaceae

ถิ่นกำเนิด


คลิกเพื่อดูที่มาข้อมูล

 กำเนิดในประเทศแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณแถบเส้นศูนย์สูตร พบทั่วไปในประเทศเขตร้อนของภูมิภาค อาทิเช่น ประเทศ อินเดีย เกาะมาดากัสการ์ , มาเลเซีย ฯลฯ แล้วมีการกระจายพันธุ์ไปในประเทศเขตร้อนใกล้เคียง เช่น บังคลาเทศ , พม่า ,ไทย , อินโดนีเซีย 

ลักษณะเฉพาะ

   คลิกเพื่อดูที่อยู่รูปภาพ

        ใบ เป็นใบเดี่ยวลักษณะรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ และแต่ละคู่ออกสลับทิศทางกัน เนื้อใบบางและเกลี้ยง ใบยาว 4 – 6 เซนติเมตร กว้าง 2 – 3 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวอ่อน

    ต้น ทองพันชั่งมีลักษณะเป็นไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็ก มีความสูงต้นประมาณ 1 - 1.5 เมตร มักแตกหน่อและแผ่กิ่งก้านออกเป็นกอ ลำต้นและกิ่งก้านมีขนประปรายทั่วไป กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยมตามยาว ส่วนโคนของลำต้นเนื้อไม้แกนแข็ง


คลิกเพื่อดูที่อยู่รูปภาพ

     ดอก เป็นดอกช่อขนาดเล็ก มีสีขาวออกเป็นช่อสั้นๆ ตรงซอกมุมใบ มองดูดอกมีลักษณะเหมือน นกกระยางกำลังบิน ลีบรองดอกมี 5 กลีบ และมีขน กลีบดอกสีขาวติดกันตรงโคนเป็นหลอด  ปลายแยกเป็น 2 กลีบ กลีบขน ปลายแยกเป็น 2 แฉกแหลมสั้นๆ กลีบล่างแผ่แยกเป็น 3 แฉก โคนกลีบมีจุดประสีม่วงแดง เกสรตัวผู้สีน้ำตาลอ่อน มีสองอันยื่นพ้นปากหลอดออกมาเล็กน้อย รังไข่มี 1 อัน รูปยาวรี มีหลอดท่อรังไข่คล้ายเส้นด้าย ยาวเสมอปากหลอดดอก ก้านเกสรสั้นติดอยู่ที่ปากท่อดอก

     คลิกเพื่อดูที่อยู่รูปภาพ

     ผล มีลักษณะเป็นฝัก กลมยาว และมีขนภายใน มี 4 เมล็ดเมื่อแห้งสามารถแตกได้

รูปแบบขนาดวิธีใช้

คลิกเพื่อดูที่อยู่ภาพ

    ทาแก้กลากเกลื้อนหรือโรคผิวหนังผื่นคันอื่นๆ ใช้ใบสดผสมน้ำมันถ่านหินหรือแอลกอฮอล์ หรืออาจใช้รากบดเป็นผงแช่แอลกอฮอลล์เอามาทาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน และผื่นคัน

การขยายทองพันชั่ง 


คลิกเพื่อดูที่อยู่รูป

 ทองพันชั่งสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วย การเพาะเมล็ดและนำกิ่งมาปักชำ แต่ในปัจจุบันวิธีที่ได้รับความนิยมและมีอัตราการปลูกที่ได้ผลดี คือ วิธีการคือตัดกิ่งแก่ที่มีตาติดอยู่ 2-3 ตา แล้วปลิดใบทิ้งให้หมดจากนั้นตัดบริเวณกิ่งให้เฉียงทำมุม 45 องศา แล้วปักลงไปในดินที่ชุ่มน้ำโดยให้กิ่งเอียงเล็กน้อย 

ประโยชน์ 


คลิกเพื่อดูที่อยู่รูปภาพ

     รักษากลาก เกลื้อน ผื่นคัน แก้ไข้ตัวร้อน แก้พยาธิผิวหนัง รักษาอาการผมร่วง , ปวดฝี , แก้พิษ , แก้อักเสบ 

คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา

คลิกเพื่อดูวิดีโอตัวอย่าง




 
powered by Blogger | For Blogservices